วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้องนกแก้ว

น้องนกแก้ว

นกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacus torquata) แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังพบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ จงอย ปากตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รวมกับหน้าผาก (ขากรรไกร) และมี ลักษณะเด่นได้แก่ ปากคมแข็ง จงอยปากงุ้มเข้าโคนใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว เท้ามีนิ้วข้าง หลังสองนิ้วและข้างหน้าสองนิ้วทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียวแน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งเป็นพิเศษ และในบางโอกาสยังสามารถจับฉีกอาหารได้ด้วย ปาก ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว สามารถ นำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด
สำหรับรังและที่อยู่อาศัยของนกแก้วโดยทั่วไปมักอยู่ตามในโพรงไม้ หรือโพรงหิน ไม่นิยมใช้วัสดุต่าง ๆ ทำรัง นกจากนกแก้ว เควเคอร์(Quaker Parrakeet) และ นกแก้ว อัฟเบริด์ (Lovebirds) นกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมทำรังโดยใช้แขนงหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ เศษ หญ้า เปลือกไม้โดยนำมาสานประกอบขึ้นเป็นรังเป็นนกปากงุ้มเป็นขอในวงศ์ Psittacidae ตัวสีเขียว ปากแดง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นกแก้วโม่ง (Psittacula eupatria) แก้วหัวแพร (P. roseata) นกมาคอว์ อาหารที่ชอบกินคือผลไม้ โดยนกแก้วมีหลายชนิดและมีสีสดใส ส่วนมากเราจะเห็นนกแก้วมีสีแดง สีน้ำเงิน สีฟ้า
นกที่คนไทยชอบเลี้ยงมาแต่โบรานมีนกแก้วรวมอยู่ด้วย เพราะนกแก้วสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ กล่าวกันว่ามันมีความจำดี เรียนรู้ได้เร็ว ถ้าพูดอะไรให้ฟังบ่อยๆก็สามารถพูดได้ กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับไปบุกอินเดียได้ทอดพระเนตรเห็นนกแก้วเข้า ก็ชอบพระทัยได้ทรงนำกลับยุโรปด้วย และในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมมาก ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นนกแก้วจึงมีราคาแพงมาก จึงได้มีการค้าขายนกแก้วทั้งในยุโรปและเอเชีย การที่คนเราชอบเลี้ยงนกแก้วนั้นเห็นจะเป็นเพราะเหตุ 4 ประการ
  1. นกแก้วมีสีสวย รูปร่างงดงาม
  2. สามารถพูดเลียนภาษามนุษย์ได้
  3. เลี้ยงง่าย
  4. อายุยืน อย่างในเรื่อง Popular Pet Birds ของ R.P.N. Sinha กล่าวว่า นกแก้วมีอายุยืนมาก อาจอยู่ได้ถึง 70 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น